เมนู

สองบทว่า ตีหิ สตฺตาเหน คือ 3 ข้าง ๆ ละสัปดาหะหนึ่ง.
สองบทว่า ชนํ อุสฺสาเรตฺวา คือ ให้ไล่คนออกไปเสีย.

เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต


สามบทว่า เชคุจฺฉํ เม สปฺปิ มีความว่า ได้ยินว่า พระราชานี้
มีกำเนิดแห่งแมลงป่อง, เนยไสเป็นยาและเป็นของปฏิกูลของแสลงป่องทั้งหลาย
เพราะกำจัดพิษแมลงป่องเสีย; เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงรับสั่งอย่างนั้น.
สองบทว่า อุทฺเทกํ ทสฺสุติ คือ จักให้อาเจียน.
สองบทว่า ปญฺญาสโยชนิกา โหติ มีความว่า ช้างพังชื่อภัททวติกา
เป็นพาหนะสามารถเดินทางได้ 50 โยชน์.
แต่พระราชานั้นจะมีแต่ช้างพังอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, ถึงช้างพลาย
ชื่อว่านาฬาคิรี ย่อมเดินทางได้ 100 โยชน์. ม้า 2 ตัว คือเวลุกัณณะตัวหนึ่ง
มุญชเกสะตัวหนึ่ง ย่อมเดินทางได้ 120 โยชน์. ทาสชื่อกากะ ย่อมเดินทาง
ได้ 60 โยชน์.
ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น วันหนึ่งเมื่อกุลบุตร ผู้
หนึ่งนั่งเพื่อจะบริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ประตูแล้วได้ไปเสีย. บุรุษ
คนหนึ่ง บอกแก่กุลบุตรนั้นว่า พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาแล้วไปเสียแล้ว.
กุลบุตรนั้นได้ฟังจึงบอกว่า ท่านจงไป, จงนำบาตรมาโดยเร็ว ดังนี้ ให้นำ
บาตรมาแล้ว ให้ภัตที่เตรียมไว้สำหรับตนทั้งหมดส่งไป.
บุรุษนอกนี้ นำบาตรนั้นส่งไปถึงมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วได้
กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยประกอบความขวนขวายทาง
กาย ที่ข้าพเจ้ากระทำแก่ท่านนี้ ข้าพเจ้าเกิดในที่ไร ๆ ขอจงเป็นผู้พร้อมมูล

ด้วยพาหนะเถิด. บุรุษนั้นเกิดเป็นพระราชา ทรงพระนามว่าจัณฑปัชโชตนี้1
ในบัดนี้, ความสมบูรณ์ด้วยพาหนะนี้ มีด้วยความปรารถนานั้น.
สามบทว่า นเขน เภสชฺชํ โอลุมฺเปตฺวา คือ แทรกยาลงด้วยเล็บ,
อธิบายว่า ใส่.
สองบทว่า สปฺปึ ปาเยตฺวา คือ ให้ดื่มเนยใสด้วย บอกวิธีจัด
อาหารแก่นางบำเรอทั้งหลายด้วย.
บทว่า นิจฺฉาเรสิ ได้แก่ ถ่ายแล้ว.
ผ้าอวมงคลซึ่งเขาทิ้งเสียที่ป่าช้าในอุตตรกุรุทวีป ชื่อผ้าสิเวยยกะ. ได้ยิน
ว่า มนุษย์ทั้งหลายในทวีปนั้น เอาผ้านั้นนั่นแลห่อหุ้มคนตายแล้วทั้งเสีย. นก
หัสดีลิงค์ทั้งหลาย กำหนดห่อคนทายนั้นว่า ชิ้นเนื้อ แล้วเฉี่ยวนำไปวางที่ยอด
เขาหิมพานต์ เปลื้องผ้าออกแล้วกิน. ครั้งนั้นพวกพรานไพรพบผ้าเข้าแล้วนำ
มาถวายพระราชา. ผ้าสิเวยยกะเป็นของที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงได้แล้วด้วย
ประการอย่างนี้.
อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า หญิงผู้ฉลาดในแคว้นสีวี ฟันด้ายด้วยขน
สัตว์ 3 เส้น, ผ้าสิเวยยกะนั้น เป็นผ้าที่ทอด้วยด้ายนั้น ดังนี้

ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้าปาวารเป็นต้น


บทว่า สิเนเหถ มีความว่า ก็พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเศร้า
หมองหรือไม่เศร้าหมอง. เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมแทรกทิพยโอชาใน
อาหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกเมื่อ, ก็แต่ว่า น้ำยางย่อมยังโทษทั้งหลายให้
ชุ่มแช่อยู่ในพระสรีระทั้งสิ้น. ย่อมกระทำเส้นเอ็นทั้งหลายให้เพลีย; ด้วยเหตุ
นั้น หมอชีวกนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
1. ดุเรื่องในสามาวตีวตฺถุ อปฺปมาทวคฺค ธมฺมปทฏฺฐกถา.